วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประดู่

ประดู่



ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocarpus indicus Willd
ชื่อสามัญ: Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood

ชื่ออื่น: ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย อังสนา (ภาคกลาง), สะโน (มาเลย์-นราธิวาส)

วงศ์: LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:       ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 25 ม. ผลัดใบก่อนออกดอก เรือนยอดรูปคล้ายทรงกระบอก ยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา หนา แตกหยาบๆ เป็นร่องลึก

     ใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยเรียงตัวแบบสลับจำนวน 7-13 ใบ ใบย่อยรูปไข่ รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 4-13 ซม. โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลมหรือ oblique ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนก้านใบมีหูใบ 2 อันเป็นเส้นยาว ผิวใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมด้านท้องใบมากกว่าด้านหลังใบ ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย

     ดอก ดอกช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง โคนก้านมีใบประดับ 1-2 อัน รูปรี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็น 2 แฉกอันบนจาก 2 กลีบติดกัน อันล่างจาก 3 กลีบติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง แกมแสด ลักษณะกลีบเป็นรูปผีเสื้อ (papilionaceous) เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็น 2-3 กลุ่ม เกสรเพศเมีย 1 อัน
     ผล ผลแห้งแบบ samaroid รูปกลมหรือรีแบน ขอบมีปีกบางคล้ายใบโดยรอบ แผ่นปีกบิด เป็นคลื่น ผิวมีขนละเอียด เส้นผ่านศูนย์กลางผล 4-8 ซม. มี 1 เมล็ด

ต้นสัตบรรณ

สัตบรรณ   



ชื่อพันธุ์ไม้ : สัตบรรณ   
                 ชื่อสามัญ : White Cheesewood    
                 ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris R. Br.        
                 ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE          
                 ชื่อพื้นเมือง : กะโนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี), ชบา ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ(ภาคกลาง), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), บะซา ปูแล ปูลา (มลายู-ปัตตานี), ยางขาว (ลำปาง),   สัตตบรรณ (ภาคกลาง, เขมร-จันทบุรี) หัสบัน (กาญจนบุรี)  
                 ชื่อทางการค้า : White cheese-wood, Shaitan wood,Devil Tree          
                 ถิ่นกำเนิด : หมู่เกาะโซโลมอนและมาเลเซีย และป่าดงดิบภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้       และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย                        
                 ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทาดำ มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออก เป็น วงรอบๆ ข้อ แผ่นใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนเว้าเข้าเล็กน้อย เส้นใบถี่ขนานกันออกดอกเป็น กระจุกช่อใหญ่สีขาวที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกออกซ้อนกันเหมือนฉัตรประมาณ 23 ชั้น กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก มีขนสีขาวอมเหลืองนวล กลิ่นหอม ผลเป็นฝักยาวเหมือน ถั่วฝักยาว เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเมล็ดเป็นรูปขนานแบนๆ          
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 - 25 เมตร เรือนยอดของต้นเล็ก รูปเจดีย ต้นใหญ่ เรือนยอดค่อนข้าง แบน โคนต้นมักจะเป็นพูพอน                      
 เปลือก : เปลือกสีเทาอ่อนหรือเทาอม เหลืองหรือสีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดง ค่อนข้างหนา แต่ เปราะ เรียบหรือแตกเป็นร่อง เปลือกชั้นในสีน้ำตาลมี น้ำยางสีขาว                             
ใบ : เป็นใบเดี่ยว (simple leaf) ใบติดเรียง กันแบบเป็นวง (whorl) แต่ละวงมี 4 - 7 ใบ รูปมนแกมรูป ขอบขนาน(oblong)หรือมนแกมรูปไข่กลับ(obovate)ปลาย มักแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ (entire)     
ดอก : เป็นดอกช่อ(inflorescence flower)แบบ umbel ขนาดเล็ก สีเขียวออกขาวหรือเขียวอมเหลือออกเป็นกลุ่มบนช่อที่แตกกิ่งก้านออกจากจุดเดียวกัน
ผล : เป็นผลเดี่ยว(simple fruit) ประเภท ผลแห้ง(dry fruit) แบบ legume ผลเป็นฝักกลม ยาว เรียวและห้อยลงขนาดโตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 5 ม.ม.                            
เมล็ด : รูปบรรทัดแคบ ๆ ยาวประมาณ 7 ม.ม. มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง               

ต้นตะขบ (สมุนไพรใกล้ตัว)

ต้นตะขบ


ชื่อวงศ์  TILIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Muntingla calabura L.
ชื่อสามัญ Calabura ,Jamalcan ,cherry ,jam tree
ชื่อพื้นเมืองอื่น  ครบฝรั่ง (สุราษฏร์ธานี)ตะขบ , ตะขบฝรั่ง(ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็ก (ExST) สูงประมาณ 5-7 เมตร เปลือกสีเทา กิ่งแผ่สาขาขนานกับพื้นดิน ตามกิ่งมีขนปกคลุม ขนนุ่ม และปลายเป็นตุ่ม ยอดอ่อนเมื่อจับดูรู้สึกเหนียวมือเล็กน้อย
ใบ เป็นใบเลี้ยงเดียว เรียงสลับแบบทแยงกัน ลักษณะใบรูปขอบขนานแกรมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบข้างหนึ่งมน ข้างหนึ่งแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนาแน่ เส้นใบมี 3-5 เส้น ด้านบนสีเขียวด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว มีขน โคนก้านเป็นปม ๆ
ดอก ดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหมือนง่ามใบ เวลาบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว มีขน กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน สีเขียว รูปหอก ปลายแหลมเป็นหางยาว โคลนกลีบตัดด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ ย่น เกลี้ยง
ผล ลักษณะลูกทรงกลม ผิวบางเรียบ ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีแดง รสหวาน
เมล็ด มีลักษณะเล็ก ๆ จำนวนมาก
นิเวศวิทยา
มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ขึ้นทั่วไปตามพื้นที่ในเขตร้อน เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่า หรือตามป่าโปร่งทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ร่มเงาตามบ้านเรือน การปลูกและขยายพันธุ์
เป็นไม้กลางแจ้งที่ปลูกง่ายโตเร็ว เจริญเติบโตได้ดีในดินทั่ว ๆ ไปขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือต้นที่เกิดขึ้นใหม่
ประโยชน์ทางยา
รสและสรรพคุณในตำรายา เปลือกต้น รสฝาด เป็นยาระบาย เพราะมีสารพวก Mucilage มากใบ รสฝาดเอียน ใช้ในการขับเหงื่อ ดอก รสฝาด แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร ลดไข้ ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ๆ เอาน้ำดื่มเป็นยาขับระดู และแก้โรคตับอักเสบ ผล รสหวานเย็น มีกลิ่นหอมบำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ราก รสฝาด กล่อมเสมหะและอาจม
วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
1. เป็นยาระบาย โดยใช้เปลือกต้นสด หรือแห้ง ประมาณ 1 ฝ่ามือสับเป็นชิ้นต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที กรองเอาน้ำดื่ม ซึ่งในเปลือกจะมีสารพวก Mucilage มาก ซึ่งเป็นยาระบายที่ดี
2. แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด ปวดเกร็งในระบบทางเดินอาหาร และลดไข้โดยใช้ดอกแห้ง 3-5 กรัม ชงเป็นน้ำชาดื่ม

ข้อควรทราบ
ผลสุกจะมีรสหวานเย็น กลิ่นหอม รับประทานแล้วจะเป็นยาบำรุงกำลังทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ

ต้นกระเพรา

ต้นกระเพรา 
(ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum linn.)เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 - 60 ซม.

       ชื่ออื่น : กระเพราแดง กระเพราขาว (ภาคกลาง) ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดำ (เชียงใหม่ และภาคเหนือ)ห่อตูปลู ห่อกวอซู (กะเหรี่ยง-แม่อ่องสอน)
     ลักษณะ
             ลำต้น ค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน ใบ เป็นใบเดี่ยวการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบตรงข้าม
                      สลับตั้งฉาก เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม.   

                 ใบ ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขน
               ดอก เป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ดอกย่อยมีขนาด  
                      เล็ก รูปคล้ายระฆัง กลีบ ดอกมีทั้งชนิดสีขาวลายม่วงแดงและสีขาว โคนกลีบเชื่อมติด 
                      กันเป็นกรวย ส่วนปลายแยกเป็น ส่วน ส่วนบนแยกเป็น กลีบปลายแหลมเรียว 
                      ส่วน ล่างมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ผิวกลีบด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ
                      กลีบเลี้ยงสีแดงน้ำตาลแกมม่วง และสีเขียว เนื้อกลีบแข็ง ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็น 
                     กรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ ปลายแหลมแบบหนาม ก้านดอกย่อยสีเขียว ยาว  
                     ประมาณ 0.20 - 0.30 ซม 
               ผล แห้งแล้วแตกออก เมล็ด เล็ก รูปไข่สีน้ำตาล มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ด
                    พองออกเป็นเมือก
     สรรพคุณ
            ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน
                และ ขับลม
           เมล็ด เมื่อนำไปแช่น้ำเมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่น
                 ละอองเข้า ผงหรือฝุ่น  ละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำให้ตาเรานั้นช้ำอีกด้วย

           ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการเเละยังมีประโยชน์อีกมากมาย