วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นไม้เต็ง



ต้นไม้เต็ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Shorea obtusa Wall
ชื่อวงศ์: DIPTEROCARPACEAE
ชื่อเรียกอื่น: แงะเอื้อ ชันตก เต็งขาว เน่าใน
ประโยชน์: เนื้อไม้สีน้ำตาลแก่ แข็งแรงและทนทาน ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ เสาคานที่ต้องรับน้ำหนักมาก



ต้นเปือย




ต้นเปือย
ชื่อท้องถิ่น:เปือย

ชื่อสามัญ:ตะแบกเปลือกบาง
ชื่อวิทยาศาสตร์:Lagerstroemia duperreana Pierre ex Gagnep.
ชื่อวงศ์: LYTHRACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:ตะแบกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลำต้นสูงประมาณ10-25 เมตรโคนต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยมยิวเปลือกมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนผิวเปลือกค่อนข้างเรียบมีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้นๆ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ มีเปลือกใบเป็นใบเดี่ยวออกตามกิ่งก้าน ปลายยอดลักษณะใบมนขอบขนาน เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบรอบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดกับดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ ริมขอบกลีบจะย่นบาง ดอกมีสีม่วงอ่อน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเมื่อแก่จะแตกเป็นเสี้ยว 6 เสี้ยวภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ
ปริมาณที่พบ: น้อย
การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:
นิยมปลูกลงในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก: ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดิน ถ้าปลูกบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะตะแบกเป็นต้นไม้ที่ทรงพุ่มโต

ต้นปัดหิน


ต้นปัดหิน
ชื่อ ปัดหิน Thai Name 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name Gardenia saxatilis Geddes   
ชื่อวงศ์ Family RUBIACEAE
ชื่อเรียกอื่น Other Name
ข่อยโคก ข่อยหิน พุดผา
ลักษณะ
Characteristics
ไม้พุ่มลำต้นแคระแกร็น แตกกิ่งมาก สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ ปลายมน โคนใบเว้าเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนผิวเกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง ด้านล่างมีขนนุ่มปกคลุม ก้านใบสั้นมากหรือเกือบไม่มี มีหูใบร่วมระหว่างคู่ใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนบนผายออกแยกเป็น 6 กลีบ แผ่ออกเกยกันคล้ายรูปกังหัน ผลสดสีเขียว รูปกลม ปลายผลมีแฉกของกลีบเลี้ยงติดทน
การกระจายพันธุ์
Distribution
ลาว และกัมพูชา ในประเทศไทยพบทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาตตะวันออก และภาคกลาง พบตามที่โล่ง ตามซอกหินของลานภูเขาหินทรายในป่าเต็งรัง

มะค่าโมง



มะค่าโมง
ชื่อพื้นเมือง        เขง เบง บิง ปิ้น มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
ชื่อวงศ์             LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
สถานภาพ         ไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์          ในประเทศ       ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งยกเว้นภาคใต้
          ในต่างประเทศ  อินเดีย พม่า กัมพูชา ลาว
ลักษณะทั่วไป          ต้นไม้  ไม้ยืนต้นขนาดใญ่ แต่สูงแค่ประมาณ 10-18 เมตร เพราะว่าแตกกิ่งก้านต่ำมาก ลำต้นใหญ่ได้มาก แต่สั้น ๆ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง เปลือกนอกแตกสะเก็ดเป็นหลุม ๆ สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู เปลือกในสีขาว
          ใบ  ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม 3-5 คู่ ใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-9 ซม. ปลายใบมน มักจะเว้าตื้นตรงกลาง โคนใบมนหรือตัด เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น แบบขั้นบันไดปลายไม่จดขอบใบ ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม.ใบอ่อนสีสนิมเหล็กสวยมากเมื่อกระทบแสงแดด
          ดอก  ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉกซ้อนเหลื่อมกัน ยาว 10-12 มม. สีเขียวอ่อน กลีบดอกมีเพียงกลีบบนสุดกลียบเดียวสีแดงเรื่อ ๆ บานเต็มที่กว้าง 2-3.5 ซม.
          ผล  ผลเป็นฝักหนาแข็ง แก่แห้งสีน้ำตาล รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-18 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดสีดำเชื่อมต่อด้วยเยื่อเหนียวสีเหลือง สวยดี
          ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล               ออกดอก  ก.พ.-มี.ค. ผลแก่  มิ.ย.-ส.ค.
          การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด
          ลักษณะเนื้อไม้  สีน้ำตาลแก่ เนื้อละเอียดค่อนข้างแข็งและแน่น เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ
          ชั้นคุณภาพ  A
          ลักษณะทางกายวิภาค  ที่เห็นได้ด้วยแว่นขยายขนาด 10-15 เท่า (handlens)
          พอร์ เป็นแบบ พอร์เดี่ยว (solitary pore) และ พอร์แฝด (multiple pore) การเรียงตัวเป็นแบบพอร์ลูกโซ่ (chain) การกระจายเป็นแบบกระจัดกระจาย (diffuse porous) พอร์ขนาดปานกลาง ทางภายในพอร์มีไทโลส (tylose) เป็นส่วนมาก เส้นเรย์เห็นชัด พาเรงคิมาเป็นแบบ ไม่ติดพอร์ (metatracheal parenchyma)
          สกายสมบัติ  ความแน่น (กก./ม.3) 920 ความยากง่ายในการผึ่งไม้ยาก การอบไม้ ตารางที่ 4
          กลสมบัติ (strength properties)ชั้นความแข็งแรง (strength group) A                        แห้ง (Air-Dry)   สด(Green)แรงดัดสถิต          มอดูลัสแตกร้าว (M O R)      (MPa)          120
(static bending)   มอดูลัสยืดหยุ่น (MOE)         (MPa)         9,973
แรงอัดขนานเสี้ยน (compression parallel to grain)  (MPa)           63
แรงเฉือน (shear parallel)                             (MPa)          16.3
ความแข็ง (hardness)                                  (N)            7,924
ความทนทานตามธรรมชาติ  ความทนทานสูงมาก 10.7 ปี การอาบน้ำยาไม้ ชั้นที่ 2
คุณสมบัติการใช้งาน  การเลื่อยไส เจาะ กลึง ปานกลาง การยึดเหนี่ยวตะปู ดี การขัดเงา ง่าย
การใช้ประโยชน์     ด้านเนื้อไม้แปรรูป  ไม้ใช้ในการก่อสร้าง ที่ต้องการความแข็งแรง ทำเครื่องมือเกษตรกรรม เครื่องดนตรี ปุ่มไม้มะค่ามีลวดลายสวยงาม ขายกันเป็นกิโลกรัม ราคาสูงมาก นิยมทำเครื่องเรือนกันทั่วไป
     ด้านการทำฟืนและถ่านไม้  ฟืนให้ความร้อน 4,716 แคลอรี/กรัม
     ด้านเป็นไม้ประดับ  เป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นรอบวงสลำต้นที่เคยพบยาว 13 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ ขณะผลิใบใหม่ ๆ ให้สีสันสวยมาก แพรวพราวไปด้วยสีสนิมเหล็กที่เมื่อกระทบแสงแดดเข้าหรือเย็นสวยจับใจ ประกอบกับเป็นไม้ที่แตกกิ่งก้านกว้างขวางมาก กินพื้นที่ประมาณ 10x10 เมตร จึงต้องปลูกในที่สาธารณะ ส่วนราชการที่กว้าง ๆ โดยเฉพาะในรีสอร์ตกว้าง ๆ ที่ประสงค์จะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ เมื่อปลูกโตแล้วสร้างบ้านทาร์ซานบนง่ามต้นมะค่าโมงได้อย่างเก๋ไก๋ เป็น Tree Top Resort เท่เลย กิ่งก้านใหญ่โตและแข็งแรงมาก ไม่หักหรือฉีกง่าย ๆ
     ปุ่มมะค่าโมง  เป็นส่วนของเนื้อไม้ที่ส่วนโคนต้นซึ่งเป็นโรค เหมือนเนื้องอก ดังนั้นเมื่อฝานปุ่มมะค่าโมงออกเป็นแผ่น ๆ จึงมีลวดลายเนื้อปุ่มแปลกสวยงามพิสดาร เป็นที่ต้องการของตลาดการตกแต่งไม้ประเภทเครื่องเรือนมาก ขายกันเป็นกิโลกรัม แต่ปัจจุบันนี้แทบหาต้นมะค่าโมงในป่าไม่ได้เลย เว้นแต่ในบ้านใกล้เรือนเคียง เช่น ลาว เขมร พม่า หรือไกลไปถึงคาเมรูน ในทวีปแอฟริกา
     ด้านเป็นพืชอาหาร  เนื้อในเมล็ดอ่อนรับประทานได้ เมล็ดแก่มีสีดำเป็นมันส่วนหนึ่ง โดยมีขั้วผลเป็นไขสีขาวเหนียวมาก เจาะรูเป็นพวงกุญแจ เมล็ดมะค่าโมงได้เก๋ไก๋ไม่เบาทีเดียวเป็นของฝากจากคนป่ามานานแล้ว
     ด้านเป็นสีย้อมผ้า เนื้อไม้ และสวนอื่น ๆ ให้สีย้อมสีเหลืองและสีน้ำตาล คนอีสานนิยมใช้ย้อมผ้าไหม และผ้าฝ้าย เปลือกมีน้ำฝาดใช้ฟอกหนังได้ ชนิด Pyrogalld และ Catechul
     ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
          เปลือกต้น  ผสมกับเปลือกมะค่าแต้ว 50 : 50 ทำเป็นยาประคบ แก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากพังคี 50 : 50 เป็นยาสมานแผล
          เมล็ด  ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง
          ปุ่ม  แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โรคผิวหนัง ถ่ายพยาธิ รสเบื่อเมา
          ไม่ระบุส่วนที่ใช้  แก้โรคผิวหนัง แก้ริดสีดวงทวารหนัก

ต้นกำยาน




ต้นกำยาน
กำยาน (อังกฤษ: Frankincense หรือ olibanum, อาหรับ: لبٌان) คือยางหอมที่ได้มาจากไม้สกุล “Boswellia” โดยเฉพาะ “Boswellia sacra” ที่ใช้ในการทำเครื่องหอม (incense) และน้ำหอม

กำยานได้มาจากต้น Boswellia โดยการขูดเปลือกต้นไม้และปล่อยให้ยางซึมออกมาและแข็งตัว ยางที่แข็งตัวนี้เรียกว่าน้ำตา ไม้พันธุ์นี้มีด้วยกันหลายสปีชีส์แต่ละสปีชีส์ก็ผลิตยางต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับดินและอากาศคุณภาพของยางก็ต่างกันออกไปแม้แต่ในสปีชีส์เดียวกัน

ต้นกำยานถือกันเป็นพันธุ์ไม้ที่แปลกเพราะสามารถเจริญเติบโตได้ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่น่าจะขึ้นได้เช่นบางครั้งก็ดูเหมือนจะงอกออกมาจากหิน ต้นกำยานจะเริ่มออกยางเมื่ออายุราว 8 ถึง 10 ปี[1] การเก็บยางทำกันสองสามครั้งต่อปี ครั้งหลังสุดจะเป็นยางที่มีคุณภาพดีที่สุดเพราะมีอัตรา terpene, sesquiterpene และ diterpene ที่สูงขึ้นที่ทำให้หอมแรงขึ้น โดยทั่วไปแล้วยางยิ่งมีสีขุ่นเท่าไหร่ก็จะมีคุณภาพดีขึ้นเท่านั้น กำยานที่มาจากโอมาน[1] กล่าวกันว่าเป็นกำยานที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก แต่กำยานที่มีคุณภาพดีก็มีที่เยเมนและทางฝั่งทะเลตอนเหนือของโซมาเลีย

จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าต้นกำยานลดจำนวนลงเพราะการเก็บผลผลิตกันมากจนเกินควร การเก็บยางมากทำให้เมล็ดที่ออกมาเพาะขึ้นเพียง 16% เมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ได้เก็บยางก็จะเพาะขึ้นกว่า 80%



ต้นเสี้ยว

ต้นเสี้ยว

ชื่อพื้นเมือง        คิงโค ส้มเสี้ยวโพะ ส้มเสี้ยว ชงโค เสี้ยวดอกขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์  Bauhinia saccocalyx Pierre
ชื่อวงศ์             LEGUMINOSAE CAESALPINIOIDEAE
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
     ในประเทศ  ป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคใต้
     ในต่างประเทศ  พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม
ลักษณะทั่วไป     ต้นไม้  ไม้ต้นกิ่งรอเลื้อยขนาดเล็ก ยาวได้ถึง 10 เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมเตี้ย เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องยาวตื้นและลึกตามลำต้น บางครั้งล่อนเป็นแผ่นบาง เปลือกในสีชมพูอ่อน
     ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง 5-9 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก 1/3-1/2 ของใบ แฉกแคบถึงกว้าง โคนใบมนหรือรูปหัวใจ แผ่นใบบาง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนและต่อมน้ำมันสีน้ำตาล เส้นแขนงใบออกจากกลางโคนใบ 9-11 เส้น ก้านใบยาว 2-3 ซม.
     ดอก  ออกรวมเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงคล้ายกาบแยกเป็น 2 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ปลายทู่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-10 มม. เกสรผู้ยาว 3 อัน เกสรเมียสั้น 5 อัน กลีบเลี้ยงหุ้มฐานดอกกลม แตกออกเป็นสองเสี้ยว
     ผล  ผลเป็นฝักเมื่อแห้งแตกแบนรูปดาบ ช่วงปลายกว้างและโค้ง ปลายผลแหลม ผลกว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 7-14 ซม. เมล็ดแบนกลม 3-5 เมล็ด แก่สีดำ
     ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล          ออกดอก   เม.ย.-พ.ค.
          ผลแก่       มิ.ย.-ก.ค.
     การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด ตอน ปักชำ
 การใช้ประโยชน์     ด้านเป็นไม้ประดับ  ยังไม่นิยมนำมาประดับบ้านนัก เนื่องจากเป็นเถาเลื้อยที่มีดอกสีขาว แต่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตัดแต่งหรือให้เลื้อยขึ้นค้างได้ น่าจะพัฒนาพันธุ์ให้ดอกมีสีสันมากขึ้นได้ ช่อดอกดกดีมาก
     ด้านสมุนไพร สรรพคุณ          ใบ  ใบผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้นต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นยาฟอกโลหิต

ต้นแดง


ต้นแดง

      ชื่อสามัญ Iron wood, Irul, Jamba, Pyinkado ต้นแดง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylia xylocarpa (Roxb.) Jaub. Var. kerrii (Craib & Hutch.) Nielsen (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Xylia kerrii Cruib & Hutch.) จัดอยู่ในวงศ์ FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE และยังจัดอยู่ในวงศ์ย่อย MIMOSOIDEAE เช่นเดียวกับกระถิน กระถินณรงค์ กระถินเทพา ชะเอมไทย ผักกระเฉด ไมยราบ สะตอ และเหรียง[1] ต้นแดง ยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น แดง (ทั่วไป), จะลาน จาลาน ตะกร้อม สะกรอม (จันทบุรี), เพ้ย (ตาก), ปราน (สุรินทร์), ไปร (ศรีษะเกษ), กร้อม (นครราชสีมา), ผ้าน (เชียงใหม่), คว้าย (เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (แพร่, แม่ฮ่องสอน), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก) เป็นต้น

    ชนิดของไม้แดง ไม้แดงมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ซึ่งจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยชนิดแรกจะมีขนาดใหญ่มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ส่วนอีกชนิดเป็นขนาดย่อมมักขึ้นตามป่าเต็งรัง โดยแบ่งออกเป็นดังนี้
ไม้แดงชนิด Xylia xylocarpa ชนิดนี้มีขนาดใหญ่มักขึ้นตามป่าชื้นและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือและภาคใต้อย่างน้อยไปจนถึงสุราษฎร์ธานี โดยใบมีลักษณะเกลี้ยง ส่วนปลายเกสรตัวผู้จะมีต่อม
ไม้แดงชนิด Xylia kerrii ชนิดนี้มีขนาดย่อมมักขึ้นตามป่าเต็งรัง หรือขึ้นอยู่ประปรายทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และจะพบได้มากตามป่าสัก โดยลักษณะของท้องใบจะเป็นขน ส่วนปลายเกสรตัวผู้จะไม่มีต่อม
แหล่งที่พบต้นแดง ไม้แดงเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอีกชนิดหนึ่ง แต่ในปัจจุบันการปลูกไม้แดงนั้นมีน้อยมาก และยังไม่ได้รับความสนใจที่จะปลูกมานัก เพราะให้ผลตอบแทนช้าเมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่นๆ ตามธรรมชาติแล้วจะพบไม้แดงได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นและป่าเต็งรัง ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และทางภาคใต้ ตอนเหนือของสุราษฎร์ธานี โดยมีรายงานว่าไม้แดงนี้มีขึ้นทั้งบนที่ราบและบนเขา แต่พื้นที่บนเขาต้นแดงจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูเขาที่มีความลาดชันน้อยและในหุบเขาที่มีการระบายน้ำได้ดี และจะขึ้นได้ดีที่สุดในดินร่วนปนทรายที่มีทั้งความชื้นและการระบายน้ำที่ดี ซึ่งโดยปกติจะขึ้นอยู่ในป่าผสมผลัดใบสูงและต่ำ ป่าดงดิบ ป่าแดงหรือป่าแพะ รวมไปถึงป่าละเมาะในเขตแห้งแล้งด้วย ทั้งนี้ถ้าหากพบขึ้นบนพื้นที่ดินลึกหรือดินมีความอุดมสมบูรณ์ ต้นแดงจะมีลำต้นเปลาตรง แต่ถ้าขึ้นบนพื้นที่ดินตื้นหรือมีหินก้อน ต้นจะแตกกิ่งก้านต่ำและมีพุ่มใบมาก
ลักษณะของต้นแดง ต้นแดง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร และบางครั้งอาจสูงได้ถึง 30-37 เมตร ลำต้นแดงค่อนข้างเปลาตรง หรือเป็นปุ่มปน ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปทรงกลม หรือเก้งก้างไม่ค่อยแน่นอน มีสีเขียวอมแดง เปลือกต้นเรียบสีเทาอมแดง มีตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบางๆ รอบลำต้น และเมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันที่มีสีแดง ส่วนยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุมอยู่ การเพาะต้นแดง วิธีที่นิยมกันก็คือการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เพราะสามารถจะผลิตกล้าได้เป็นจำนวนมาก ส่วนวิธีอื่นๆ นั้นยังไม่ได้มีการนำมาใช้กัน
ไม้แดง มีเนื้อไม้มีสีแดงเรื่อๆ หรือเป็นสีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนเป็นลูกคลื่นหรือมักสน เนื้อไม้ละเอียดพอประมาณ มีความแข็งแรง เหนียวและทนทานมาก สามารถเลื่อยไสกบ ตบแต่งได้เรียบร้อย ขัดชักเงาได้ดี โดยมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.18 และเนื้อไม้มีความแข็งประมาณ 1,030 กิโลกรัม มีความทนทานตามธรรมชาติตั้งแต่ 10-18 ปี ส่วนการอาบน้ำยาไม้ทำได้ยาก (ชั้นสี่)
ใบต้นแดง ออกเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ช่อใบยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ในแต่ละช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 4-5 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบมักเบี้ยวและมีขนาดไม่เท่ากัน มีความกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมมน ส่วนฐานใบมักเบี้ยว ใบแก่จะไม่มีขนปกคลุม หรืออาจมีบ้างประปรายด้านท้องใบเล็กน้อย ส่วนก้านใบย่อยจะยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
ดอกต้นแดง ดอกมีสีเหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ขึ้นอัดกันแน่นเป็นช่อกลมเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่ม ในแต่ละช่อดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.4 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีขนขึ้นปกคลุมประปราย ส่วนกลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ มีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันเล็กน้อยที่บริเวณฐาน และมีเกสรตัวผู้ 10 อัน แยกออกจากกันอย่างอิสระยื่นยาวออกมานอกดอก โดยดอกต้นแดงนี้จะออกดอกพร้อมกับใบอ่อนในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ และอาจถึงเดือนมีนาคม
ผลต้นแดง หรือ ฝักต้นแดง ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนแข็ง ลักษณะเป็นรูปขอบขนานเรียวและโค้งงอที่ส่วนปลาย ฝักมีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวฝักเรียบมีสีน้ำตาลอมเทา ไม่มีขนขึ้นปกคลุมและไม่มีก้าน เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก และเปลือกของฝักที่แตกมักจะม้วนบิดงอ ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดจำนวนหลายเมล็ด ประมาณ 6-10 เมล็ด โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม