วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นตะแบกป่า




                                                                    ต้นตะแบกป่า

  ชื่อวิทยาศาสตร์  : Lagerstroemia floribunda Jack ex Blume
  ชื่อวงศ์  :   LYTHRACEAE
  ชื่อท้องถิ่น  :  กระแบก ตราแบกปรี้ ตะแบกไข่ บางอตะมะกอ บางอยามู เปื๋อยด้อง เปื๋อยนา เปื๋อยหางด่าง ตะแบกแดงแบก บางอยามูละเบะ ตะแบกน้ำ    
       ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

 ประโยชน์ของต้นตะแบกป่า เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
  สรรพคุณ  :  ราก แก้ปวดกล้ามเนื้อเมื่อมีไข้  เปลือก แก้บิด แก้บิดมูกเลือด หรือลงแดง แก้ไข้อติสาร แก้ท้องร่วง แก้ถูกยาพิษ  เนื้อไม้ ขับโลหิตระดูสตรี แก้ระดูพิการที่เป็นลิ่ม เป็นก้อนสีดำมีกลิ่นเหม็นซึ่งทำให้เจ็บปวดในท้องน้อยหลังบั้นเอว แก้โลหิตจาง บำรุงโลหิต แก้ผอมแห้ง ขับระดูขาว  ใบ แก้ไข้  ขนดอก บำรุงตับ บำรุงปอด บำรุงหัวใจ แก้ลมกองละเอียด
   ลักษณะ  :  เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15 - 30 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอก สีเทาหรือเทาอมขาว เป็นมัน เปลือกใน สีชมพู มีสีม่วงใต้เปลือกใน เรือนยอด เป็นพุ่มกลม ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันมากน้อยไม่แน่นอน ทรงใบรูปขอบขนานและรูปหอก กว้าง 5 - 7 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. เนื้อใบหนา ใบอ่อน ออกสีแดง และมีขนสั้นๆอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่สีเขียวเข้มจะเกลี้ยงหรือเหลือขนเพียงประปราย ดอกออกรวมกันเป็นช่อกระจายแยกแขนง ตามปลายกิ่ง ช่อมักกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 30 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 - 3.5 ซม. กลีบดอก 5 กลีบเป็นแผ่นกลมและมีก้านสั้น ๆ ทำให้ดูช่ออัดแน่นมาก กลีบดอกสีม่วงปนชมพูหรือสีกุหลาบ กลีบดอกแก่จะสีขาว ผลแห้ง รูปรี ๆ ยาวไม่เกิน 2 ซม. มีขนคลุมประปราย ผลอ่อน สีเขียว ผลแก่ สีน้ำตาลดำ
    ส่วนที่นำมาใช้ :  ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบ และขนดอก

  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น