วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นไม้เต็ง



ต้นไม้เต็ง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Shorea obtusa Wall
ชื่อวงศ์: DIPTEROCARPACEAE
ชื่อเรียกอื่น: แงะเอื้อ ชันตก เต็งขาว เน่าใน
ประโยชน์: เนื้อไม้สีน้ำตาลแก่ แข็งแรงและทนทาน ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ เสาคานที่ต้องรับน้ำหนักมาก



ต้นเปือย




ต้นเปือย
ชื่อท้องถิ่น:เปือย

ชื่อสามัญ:ตะแบกเปลือกบาง
ชื่อวิทยาศาสตร์:Lagerstroemia duperreana Pierre ex Gagnep.
ชื่อวงศ์: LYTHRACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:ตะแบกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลำต้นสูงประมาณ10-25 เมตรโคนต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยมยิวเปลือกมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนผิวเปลือกค่อนข้างเรียบมีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้นๆ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ มีเปลือกใบเป็นใบเดี่ยวออกตามกิ่งก้าน ปลายยอดลักษณะใบมนขอบขนาน เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบรอบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดกับดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ ริมขอบกลีบจะย่นบาง ดอกมีสีม่วงอ่อน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเมื่อแก่จะแตกเป็นเสี้ยว 6 เสี้ยวภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ
ปริมาณที่พบ: น้อย
การขยายพันธุ์: ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:
นิยมปลูกลงในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก: ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดิน ถ้าปลูกบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะตะแบกเป็นต้นไม้ที่ทรงพุ่มโต

ต้นปัดหิน


ต้นปัดหิน
ชื่อ ปัดหิน Thai Name 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Scientific Name Gardenia saxatilis Geddes   
ชื่อวงศ์ Family RUBIACEAE
ชื่อเรียกอื่น Other Name
ข่อยโคก ข่อยหิน พุดผา
ลักษณะ
Characteristics
ไม้พุ่มลำต้นแคระแกร็น แตกกิ่งมาก สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ ปลายมน โคนใบเว้าเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนผิวเกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง ด้านล่างมีขนนุ่มปกคลุม ก้านใบสั้นมากหรือเกือบไม่มี มีหูใบร่วมระหว่างคู่ใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ติดกันเป็นหลอดยาว ส่วนบนผายออกแยกเป็น 6 กลีบ แผ่ออกเกยกันคล้ายรูปกังหัน ผลสดสีเขียว รูปกลม ปลายผลมีแฉกของกลีบเลี้ยงติดทน
การกระจายพันธุ์
Distribution
ลาว และกัมพูชา ในประเทศไทยพบทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาตตะวันออก และภาคกลาง พบตามที่โล่ง ตามซอกหินของลานภูเขาหินทรายในป่าเต็งรัง

มะค่าโมง



มะค่าโมง
ชื่อพื้นเมือง        เขง เบง บิง ปิ้น มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
ชื่อวงศ์             LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
สถานภาพ         ไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์          ในประเทศ       ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งยกเว้นภาคใต้
          ในต่างประเทศ  อินเดีย พม่า กัมพูชา ลาว
ลักษณะทั่วไป          ต้นไม้  ไม้ยืนต้นขนาดใญ่ แต่สูงแค่ประมาณ 10-18 เมตร เพราะว่าแตกกิ่งก้านต่ำมาก ลำต้นใหญ่ได้มาก แต่สั้น ๆ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง เปลือกนอกแตกสะเก็ดเป็นหลุม ๆ สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมชมพู เปลือกในสีขาว
          ใบ  ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้าม 3-5 คู่ ใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 4-9 ซม. ปลายใบมน มักจะเว้าตื้นตรงกลาง โคนใบมนหรือตัด เส้นแขนงใบข้างละ 8-10 เส้น แบบขั้นบันไดปลายไม่จดขอบใบ ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม.ใบอ่อนสีสนิมเหล็กสวยมากเมื่อกระทบแสงแดด
          ดอก  ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ยาว 5-15 ซม. ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉกซ้อนเหลื่อมกัน ยาว 10-12 มม. สีเขียวอ่อน กลีบดอกมีเพียงกลีบบนสุดกลียบเดียวสีแดงเรื่อ ๆ บานเต็มที่กว้าง 2-3.5 ซม.
          ผล  ผลเป็นฝักหนาแข็ง แก่แห้งสีน้ำตาล รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-18 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดสีดำเชื่อมต่อด้วยเยื่อเหนียวสีเหลือง สวยดี
          ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล               ออกดอก  ก.พ.-มี.ค. ผลแก่  มิ.ย.-ส.ค.
          การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด
          ลักษณะเนื้อไม้  สีน้ำตาลแก่ เนื้อละเอียดค่อนข้างแข็งและแน่น เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ
          ชั้นคุณภาพ  A
          ลักษณะทางกายวิภาค  ที่เห็นได้ด้วยแว่นขยายขนาด 10-15 เท่า (handlens)
          พอร์ เป็นแบบ พอร์เดี่ยว (solitary pore) และ พอร์แฝด (multiple pore) การเรียงตัวเป็นแบบพอร์ลูกโซ่ (chain) การกระจายเป็นแบบกระจัดกระจาย (diffuse porous) พอร์ขนาดปานกลาง ทางภายในพอร์มีไทโลส (tylose) เป็นส่วนมาก เส้นเรย์เห็นชัด พาเรงคิมาเป็นแบบ ไม่ติดพอร์ (metatracheal parenchyma)
          สกายสมบัติ  ความแน่น (กก./ม.3) 920 ความยากง่ายในการผึ่งไม้ยาก การอบไม้ ตารางที่ 4
          กลสมบัติ (strength properties)ชั้นความแข็งแรง (strength group) A                        แห้ง (Air-Dry)   สด(Green)แรงดัดสถิต          มอดูลัสแตกร้าว (M O R)      (MPa)          120
(static bending)   มอดูลัสยืดหยุ่น (MOE)         (MPa)         9,973
แรงอัดขนานเสี้ยน (compression parallel to grain)  (MPa)           63
แรงเฉือน (shear parallel)                             (MPa)          16.3
ความแข็ง (hardness)                                  (N)            7,924
ความทนทานตามธรรมชาติ  ความทนทานสูงมาก 10.7 ปี การอาบน้ำยาไม้ ชั้นที่ 2
คุณสมบัติการใช้งาน  การเลื่อยไส เจาะ กลึง ปานกลาง การยึดเหนี่ยวตะปู ดี การขัดเงา ง่าย
การใช้ประโยชน์     ด้านเนื้อไม้แปรรูป  ไม้ใช้ในการก่อสร้าง ที่ต้องการความแข็งแรง ทำเครื่องมือเกษตรกรรม เครื่องดนตรี ปุ่มไม้มะค่ามีลวดลายสวยงาม ขายกันเป็นกิโลกรัม ราคาสูงมาก นิยมทำเครื่องเรือนกันทั่วไป
     ด้านการทำฟืนและถ่านไม้  ฟืนให้ความร้อน 4,716 แคลอรี/กรัม
     ด้านเป็นไม้ประดับ  เป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นรอบวงสลำต้นที่เคยพบยาว 13 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ ขณะผลิใบใหม่ ๆ ให้สีสันสวยมาก แพรวพราวไปด้วยสีสนิมเหล็กที่เมื่อกระทบแสงแดดเข้าหรือเย็นสวยจับใจ ประกอบกับเป็นไม้ที่แตกกิ่งก้านกว้างขวางมาก กินพื้นที่ประมาณ 10x10 เมตร จึงต้องปลูกในที่สาธารณะ ส่วนราชการที่กว้าง ๆ โดยเฉพาะในรีสอร์ตกว้าง ๆ ที่ประสงค์จะสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ เมื่อปลูกโตแล้วสร้างบ้านทาร์ซานบนง่ามต้นมะค่าโมงได้อย่างเก๋ไก๋ เป็น Tree Top Resort เท่เลย กิ่งก้านใหญ่โตและแข็งแรงมาก ไม่หักหรือฉีกง่าย ๆ
     ปุ่มมะค่าโมง  เป็นส่วนของเนื้อไม้ที่ส่วนโคนต้นซึ่งเป็นโรค เหมือนเนื้องอก ดังนั้นเมื่อฝานปุ่มมะค่าโมงออกเป็นแผ่น ๆ จึงมีลวดลายเนื้อปุ่มแปลกสวยงามพิสดาร เป็นที่ต้องการของตลาดการตกแต่งไม้ประเภทเครื่องเรือนมาก ขายกันเป็นกิโลกรัม แต่ปัจจุบันนี้แทบหาต้นมะค่าโมงในป่าไม่ได้เลย เว้นแต่ในบ้านใกล้เรือนเคียง เช่น ลาว เขมร พม่า หรือไกลไปถึงคาเมรูน ในทวีปแอฟริกา
     ด้านเป็นพืชอาหาร  เนื้อในเมล็ดอ่อนรับประทานได้ เมล็ดแก่มีสีดำเป็นมันส่วนหนึ่ง โดยมีขั้วผลเป็นไขสีขาวเหนียวมาก เจาะรูเป็นพวงกุญแจ เมล็ดมะค่าโมงได้เก๋ไก๋ไม่เบาทีเดียวเป็นของฝากจากคนป่ามานานแล้ว
     ด้านเป็นสีย้อมผ้า เนื้อไม้ และสวนอื่น ๆ ให้สีย้อมสีเหลืองและสีน้ำตาล คนอีสานนิยมใช้ย้อมผ้าไหม และผ้าฝ้าย เปลือกมีน้ำฝาดใช้ฟอกหนังได้ ชนิด Pyrogalld และ Catechul
     ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
          เปลือกต้น  ผสมกับเปลือกมะค่าแต้ว 50 : 50 ทำเป็นยาประคบ แก้ฟกช้ำ ปวดบวม หรือผสมกับรากพังคี 50 : 50 เป็นยาสมานแผล
          เมล็ด  ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง
          ปุ่ม  แก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้โรคผิวหนัง ถ่ายพยาธิ รสเบื่อเมา
          ไม่ระบุส่วนที่ใช้  แก้โรคผิวหนัง แก้ริดสีดวงทวารหนัก

ต้นกำยาน




ต้นกำยาน
กำยาน (อังกฤษ: Frankincense หรือ olibanum, อาหรับ: لبٌان) คือยางหอมที่ได้มาจากไม้สกุล “Boswellia” โดยเฉพาะ “Boswellia sacra” ที่ใช้ในการทำเครื่องหอม (incense) และน้ำหอม

กำยานได้มาจากต้น Boswellia โดยการขูดเปลือกต้นไม้และปล่อยให้ยางซึมออกมาและแข็งตัว ยางที่แข็งตัวนี้เรียกว่าน้ำตา ไม้พันธุ์นี้มีด้วยกันหลายสปีชีส์แต่ละสปีชีส์ก็ผลิตยางต่างชนิดกัน ขึ้นอยู่กับดินและอากาศคุณภาพของยางก็ต่างกันออกไปแม้แต่ในสปีชีส์เดียวกัน

ต้นกำยานถือกันเป็นพันธุ์ไม้ที่แปลกเพราะสามารถเจริญเติบโตได้ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่น่าจะขึ้นได้เช่นบางครั้งก็ดูเหมือนจะงอกออกมาจากหิน ต้นกำยานจะเริ่มออกยางเมื่ออายุราว 8 ถึง 10 ปี[1] การเก็บยางทำกันสองสามครั้งต่อปี ครั้งหลังสุดจะเป็นยางที่มีคุณภาพดีที่สุดเพราะมีอัตรา terpene, sesquiterpene และ diterpene ที่สูงขึ้นที่ทำให้หอมแรงขึ้น โดยทั่วไปแล้วยางยิ่งมีสีขุ่นเท่าไหร่ก็จะมีคุณภาพดีขึ้นเท่านั้น กำยานที่มาจากโอมาน[1] กล่าวกันว่าเป็นกำยานที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก แต่กำยานที่มีคุณภาพดีก็มีที่เยเมนและทางฝั่งทะเลตอนเหนือของโซมาเลีย

จากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่าต้นกำยานลดจำนวนลงเพราะการเก็บผลผลิตกันมากจนเกินควร การเก็บยางมากทำให้เมล็ดที่ออกมาเพาะขึ้นเพียง 16% เมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ได้เก็บยางก็จะเพาะขึ้นกว่า 80%



ต้นเสี้ยว

ต้นเสี้ยว

ชื่อพื้นเมือง        คิงโค ส้มเสี้ยวโพะ ส้มเสี้ยว ชงโค เสี้ยวดอกขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์  Bauhinia saccocalyx Pierre
ชื่อวงศ์             LEGUMINOSAE CAESALPINIOIDEAE
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
     ในประเทศ  ป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคใต้
     ในต่างประเทศ  พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม
ลักษณะทั่วไป     ต้นไม้  ไม้ต้นกิ่งรอเลื้อยขนาดเล็ก ยาวได้ถึง 10 เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมเตี้ย เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องยาวตื้นและลึกตามลำต้น บางครั้งล่อนเป็นแผ่นบาง เปลือกในสีชมพูอ่อน
     ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง 5-9 ซม. ยาว 6-10 ซม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก 1/3-1/2 ของใบ แฉกแคบถึงกว้าง โคนใบมนหรือรูปหัวใจ แผ่นใบบาง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนและต่อมน้ำมันสีน้ำตาล เส้นแขนงใบออกจากกลางโคนใบ 9-11 เส้น ก้านใบยาว 2-3 ซม.
     ดอก  ออกรวมเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงคล้ายกาบแยกเป็น 2 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ ปลายทู่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-10 มม. เกสรผู้ยาว 3 อัน เกสรเมียสั้น 5 อัน กลีบเลี้ยงหุ้มฐานดอกกลม แตกออกเป็นสองเสี้ยว
     ผล  ผลเป็นฝักเมื่อแห้งแตกแบนรูปดาบ ช่วงปลายกว้างและโค้ง ปลายผลแหลม ผลกว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 7-14 ซม. เมล็ดแบนกลม 3-5 เมล็ด แก่สีดำ
     ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล          ออกดอก   เม.ย.-พ.ค.
          ผลแก่       มิ.ย.-ก.ค.
     การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด ตอน ปักชำ
 การใช้ประโยชน์     ด้านเป็นไม้ประดับ  ยังไม่นิยมนำมาประดับบ้านนัก เนื่องจากเป็นเถาเลื้อยที่มีดอกสีขาว แต่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตัดแต่งหรือให้เลื้อยขึ้นค้างได้ น่าจะพัฒนาพันธุ์ให้ดอกมีสีสันมากขึ้นได้ ช่อดอกดกดีมาก
     ด้านสมุนไพร สรรพคุณ          ใบ  ใบผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้นต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง เป็นยาฟอกโลหิต

ต้นแดง


ต้นแดง

      ชื่อสามัญ Iron wood, Irul, Jamba, Pyinkado ต้นแดง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylia xylocarpa (Roxb.) Jaub. Var. kerrii (Craib & Hutch.) Nielsen (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Xylia kerrii Cruib & Hutch.) จัดอยู่ในวงศ์ FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE และยังจัดอยู่ในวงศ์ย่อย MIMOSOIDEAE เช่นเดียวกับกระถิน กระถินณรงค์ กระถินเทพา ชะเอมไทย ผักกระเฉด ไมยราบ สะตอ และเหรียง[1] ต้นแดง ยังมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ อีกเช่น แดง (ทั่วไป), จะลาน จาลาน ตะกร้อม สะกรอม (จันทบุรี), เพ้ย (ตาก), ปราน (สุรินทร์), ไปร (ศรีษะเกษ), กร้อม (นครราชสีมา), ผ้าน (เชียงใหม่), คว้าย (เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (แพร่, แม่ฮ่องสอน), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก) เป็นต้น

    ชนิดของไม้แดง ไม้แดงมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ซึ่งจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน โดยชนิดแรกจะมีขนาดใหญ่มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ส่วนอีกชนิดเป็นขนาดย่อมมักขึ้นตามป่าเต็งรัง โดยแบ่งออกเป็นดังนี้
ไม้แดงชนิด Xylia xylocarpa ชนิดนี้มีขนาดใหญ่มักขึ้นตามป่าชื้นและป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือและภาคใต้อย่างน้อยไปจนถึงสุราษฎร์ธานี โดยใบมีลักษณะเกลี้ยง ส่วนปลายเกสรตัวผู้จะมีต่อม
ไม้แดงชนิด Xylia kerrii ชนิดนี้มีขนาดย่อมมักขึ้นตามป่าเต็งรัง หรือขึ้นอยู่ประปรายทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และจะพบได้มากตามป่าสัก โดยลักษณะของท้องใบจะเป็นขน ส่วนปลายเกสรตัวผู้จะไม่มีต่อม
แหล่งที่พบต้นแดง ไม้แดงเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศอีกชนิดหนึ่ง แต่ในปัจจุบันการปลูกไม้แดงนั้นมีน้อยมาก และยังไม่ได้รับความสนใจที่จะปลูกมานัก เพราะให้ผลตอบแทนช้าเมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่นๆ ตามธรรมชาติแล้วจะพบไม้แดงได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นและป่าเต็งรัง ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และทางภาคใต้ ตอนเหนือของสุราษฎร์ธานี โดยมีรายงานว่าไม้แดงนี้มีขึ้นทั้งบนที่ราบและบนเขา แต่พื้นที่บนเขาต้นแดงจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูเขาที่มีความลาดชันน้อยและในหุบเขาที่มีการระบายน้ำได้ดี และจะขึ้นได้ดีที่สุดในดินร่วนปนทรายที่มีทั้งความชื้นและการระบายน้ำที่ดี ซึ่งโดยปกติจะขึ้นอยู่ในป่าผสมผลัดใบสูงและต่ำ ป่าดงดิบ ป่าแดงหรือป่าแพะ รวมไปถึงป่าละเมาะในเขตแห้งแล้งด้วย ทั้งนี้ถ้าหากพบขึ้นบนพื้นที่ดินลึกหรือดินมีความอุดมสมบูรณ์ ต้นแดงจะมีลำต้นเปลาตรง แต่ถ้าขึ้นบนพื้นที่ดินตื้นหรือมีหินก้อน ต้นจะแตกกิ่งก้านต่ำและมีพุ่มใบมาก
ลักษณะของต้นแดง ต้นแดง จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร และบางครั้งอาจสูงได้ถึง 30-37 เมตร ลำต้นแดงค่อนข้างเปลาตรง หรือเป็นปุ่มปน ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปทรงกลม หรือเก้งก้างไม่ค่อยแน่นอน มีสีเขียวอมแดง เปลือกต้นเรียบสีเทาอมแดง มีตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบางๆ รอบลำต้น และเมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันที่มีสีแดง ส่วนยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุมอยู่ การเพาะต้นแดง วิธีที่นิยมกันก็คือการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เพราะสามารถจะผลิตกล้าได้เป็นจำนวนมาก ส่วนวิธีอื่นๆ นั้นยังไม่ได้มีการนำมาใช้กัน
ไม้แดง มีเนื้อไม้มีสีแดงเรื่อๆ หรือเป็นสีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนเป็นลูกคลื่นหรือมักสน เนื้อไม้ละเอียดพอประมาณ มีความแข็งแรง เหนียวและทนทานมาก สามารถเลื่อยไสกบ ตบแต่งได้เรียบร้อย ขัดชักเงาได้ดี โดยมีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.18 และเนื้อไม้มีความแข็งประมาณ 1,030 กิโลกรัม มีความทนทานตามธรรมชาติตั้งแต่ 10-18 ปี ส่วนการอาบน้ำยาไม้ทำได้ยาก (ชั้นสี่)
ใบต้นแดง ออกเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ช่อใบยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ในแต่ละช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 4-5 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบมักเบี้ยวและมีขนาดไม่เท่ากัน มีความกว้างประมาณ 3-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมมน ส่วนฐานใบมักเบี้ยว ใบแก่จะไม่มีขนปกคลุม หรืออาจมีบ้างประปรายด้านท้องใบเล็กน้อย ส่วนก้านใบย่อยจะยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร
ดอกต้นแดง ดอกมีสีเหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ขึ้นอัดกันแน่นเป็นช่อกลมเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่ม ในแต่ละช่อดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.4 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีขนขึ้นปกคลุมประปราย ส่วนกลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ตรงปลายแยกออกเป็นกลีบ 5 กลีบ มีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันเล็กน้อยที่บริเวณฐาน และมีเกสรตัวผู้ 10 อัน แยกออกจากกันอย่างอิสระยื่นยาวออกมานอกดอก โดยดอกต้นแดงนี้จะออกดอกพร้อมกับใบอ่อนในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ และอาจถึงเดือนมีนาคม
ผลต้นแดง หรือ ฝักต้นแดง ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนแข็ง ลักษณะเป็นรูปขอบขนานเรียวและโค้งงอที่ส่วนปลาย ฝักมีความยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวฝักเรียบมีสีน้ำตาลอมเทา ไม่มีขนขึ้นปกคลุมและไม่มีก้าน เมื่อฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก และเปลือกของฝักที่แตกมักจะม้วนบิดงอ ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดจำนวนหลายเมล็ด ประมาณ 6-10 เมล็ด โดยฝักจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม







วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นไผ่เพ็ก




                                                                       ต้นไผ่เพ็ก
ชื่อท้องถิ่น: ไผ่เพ็ก
ชื่อสามัญ: ไผ่เพ็ก
ชื่อวิทยาศาาสตร์: Vietnamosasa qusilla
ชื่อวงศ์: Poaceae
ประโยชน์: ส่วนที่ใช้บริโภค หน่ออ่อน

ต้นไม้รัง


ต้นไม้รัง
ชื่อสามัญ : Burmese sal,Ingyin
ชื่อวิทยาศาสตร์:Shorea siamensis Miq.
วงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น: เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ),รัง(ภาคกลาง),เรียง เรียงพนม(เขมร-สุรินทร์),ลักป้าว(ละว้า-เชียงใหม่),แลบอง เหล้ท้อ เหล่บ่อง(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),ฮัง(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ประโยชน์:เนื้อไม้แข็ง นิยมนำมาทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแข็งแรง และรับน้ำหนักมาก เช่น ทำพื้น รอด ตง คาน ทำส่วนประกอบของยานพาหนะและด้ามมีการเกษตรต่างๆ



วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นสะแบงป่า


ต้นสะแบงป่า

ชื่อสมุนไพร
เหียง
ชื่ออื่นๆ
สะแบง (อุตรดิตถ์ ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะแบง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เหียงพลวง ตาด (พล จันทบุรี) ซาด (ชัยภูมิ); เหียงพลวง เหียงโยน (ประจวบคีรีขันธ์) เห่ง (น่าน)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dipterocarpus obtusifolius Teijsm.ex Miq.
ชื่อพ้อง
Dipterocarpus punctulatus Pierre.
ชื่อวงศ์
Dipterocarpaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้ต้นขนาดกลางสูง 8-30 เมตร ผลัดใบ เปลือกหนาสีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา และเป็นร่องลึก ตามยาว เนื้อไม้สีแดงอ่อนถึงน้ำตาลปนแดง เรือนยอดเล็กสีบรอนส์ออกสีเขียว กิ่งอ่อนและใบมีขนสีขาวปกคลุม ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่ ขนาดใหญ่ กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว13-25 เซนติเมตร ปลายมน โคนมนหรือหยักเว้าตื้น ฐานเป็นรูปหัวใจ ใบอ่อนมีขนยาวแหลม ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขน แต่น้อย ใบด้านบนเขียวเข้ม มีขนบนเส้นใบ และขอบใบ เนื้อใบหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนสีน้ำตาล ด้านล่างสีบรอนส์ออกสีเขียว มีขนเป็นรูปดาวบนเส้นใบ และขนสีขาวยาวกว่าด้านบน เส้นใบข้าง 10-18 คู่ มีขนสีน้ำตาลอมเหลือง ก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร มีขนหนาแน่น พื้นใบจีบเป็นร่องระหว่างเส้นแขนงใบ ขอบใบเรียบเป็นหยักคลื่นตามเส้นใบ เส้นใบเป็นสันเด่นชัดด้านท้องใบ ใบอ่อนพับจีบชัดเจนตามแนวเส้นแขนงใบ มีหูใบหุ้มยอดอ่อน หูใบรูปแถบกว้าง ปลายมน ผิวด้านนอกมีขนสั้นหนานุ่ม หูใบยาว 7-12 เซนติเมตร สีชมพูสด ดอกออกรวมเป็นช่อเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลุ่มละ 3-7 ดอก ขนาดดอก 3.5-5 เซนติเมตร แกนก้านรูปซิกแซก ก้านช่อดอกยาว 2-5 เซนติเมตร และมีขนหนาแน่น  ก้านดอกย่อยมีตั้งแต่สั้นมากจนยาวได้ถึง 1 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูสด กลีบดอกรูปกรวย โคนกลีบชิดกันปลายบิดเวียนเป็นรูปกังหัน เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 4-5 เซนติเมตร ขนาดกลีบ กว้าง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 4.8-5 เซนติเมตร ผิวด้านนอกมีขนสั้นรูปดาวปกคลุม เกสรตัวผู้มีประมาณ 30 อัน อัดแน่นรอบรังไข่ อับเรณูรูปหัวลูกศร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขน มี 3 ช่อง  แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด กลีบเลี้ยงขนาด 1.4 เซนติเมตร มี 5 กลีบ มีขนหนาแน่น ใบประดับที่ก้านดอกย่อยรูปใบหอกหรือรูปแถบ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติกันเป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีสองขนาด แฉกยาว 2 แฉก กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ยาว 1-1.2 เซนติเมตร แฉกสั้น 3 แฉก กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาว 4-5 มิลลิเมตร ผลแห้งแบบผลผนังชั้นในแข็ง ผลกลม แข็ง เกลี้ยง ไม่มีสันหรือปุ่มด้านบน เมื่ออ่อนมีขนปกคลุม เมื่อแก่เรียบเกลี้ยง ผลแก่สีน้ำตาลเป็นมัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ปีกที่พัฒนามาจากกลีบเลี้ยงมี 5 ปีก ปีกยาวรูปขอบขนาน 2 ปีก กว้าง 2.3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13 เซนติเมตร มีเส้นตามยาวปีก 1 เส้น เส้นย่อยสานเป็นร่างแห อีก 3 ปีกเล็ก มีขนาดยาว 1-1.5  เซนติเมตร มีหยักลึก ปีกอ่อนสีแดงสด มีเมล็ด 1 เมล็ด เป็นไม้เด่นที่พบในป่าเต็งรัง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ดอกเมื่อบานเต็มที่ จะร่วงลงสู่พื้น กลีบดอกรับประทานได้ เป็นผักชนิดหนึ่ง มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ชาวบ้านใช้จิ้มน้ำพริก ยางไม้ใช้ยาเครื่องจักสาน ยาไม้แนวเรือ ทำใต้ ทาไม้ ใบแก่เย็บเป็นตับมุงหลังคาหรือเถียงนา กั้นฝา ห่ออาหาร
  สรรพคุณ  ตำรายาไทย  ใช้ ใบ รสฝาด ต้มน้ำผสมน้ำเกลือ อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน ใบและยาง รสฝาดร้อน กินเป็นยาตัดลูก (ทำให้ไม่มีบุตร) น้ำมันยาง สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว ยาง รสร้อน สมานแผล แก้หนอง ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาแผลในทางเดินปัสสาวะ แก้ตกขาว น้ำมัน ใช้ทาแผลภายนอกเปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย

ต้นขี้เหล็กป่า




                                                               ต้นขี้เหล็กป่า
ขี้เหล็กป่า(แสมสาร)
ชื่อพื้นเมือง     แสมสาร กะบัด ขี้เหล็กโคก ขี้เหล็ก คันชั่ง ขี้เหล็กแพะ ขี้เหล็กสาร ไงซาน กราบัด
ชื่อวิทยาศาสตร์  Cassia garrettiana (Craib.) Inwin & Basneby
ชื่อวงศ์             LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
สถานภาพ         ไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
     ในประเทศ  พบทั่วไปในป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ และป่าที่ราบต่ำทั่วไป
     ในต่างประเทศ  พบทั่วไปในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป
     ต้นไม้  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15 เมตร เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ โปร่ง เปลือกนอกสีเทาน้ำตาลแตกเป็นร่องทั่วไป เปลือกในสีแดงอมม่วง
     ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ ใบย่อยออกตรงกันข้าม 7-9 คู่ รูปใบย่อยโคนใบกลมมนเรียวสอบไปสู่ปลายใบ ปลายแหลม เส้นแขนงใบย่อยแตกออกเป็นร่างแห 7-8 คู่ ใบเป็นมันเขียวเข้ม ก้านใบย่อยสั้น 0.4-0.5 ซม.
     ดอก  เป็นช่อแบบแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-20 ซม. ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ สีเหลืองสดใส ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 ซม.
     ผล  เป็นฝักรูปขอบขนาน ขนาด 2.4x15-22 ซม. แก่จัดสีน้ำตาลดำ
     ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล
          ออกดอก  พ.ค.-ก.ค.
          ผลแก่      ต.ค.-ธ.ค.
     การขยายพันธุ์  ใช้เมล็ดเพาะดีที่สุด
การใช้ประโยชน์
     ด้านเนื้อไม้แปรรูป ทำเครื่องครัว เครื่องมือช่าง
     ด้านเป็นไม้ประดับ  เป็นไม้ขนาดค่อนข้างเล็ก ทรงพุ่มเรือนยอดสวย ครั้นออกดอกจะมีดอกขาวโพลนหนาแน่น หากปลูกประดับในพื้นที่จำกัด (กว้างยาว 3x3 เมตร) จะเพิ่มความสวยงามมากขึ้น
     ด้านการเป็นถ่านไม้และฟื้น  เป็นถ่านไม้ให้ความร้อน 6,477 แคลอรี่/กรัม เป็นฟืนให้ความร้อน 4,418 แคลอรี/กรัม
     ด้านเป็นพืชอาหาร  ดอกและใบกินได้
     ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
          ราก  ฟอกโลหิต
          ใบ  ขับพยาธิ เป็นยาถ่าย รักษางูสวัด บำบัดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว รักษาแผลสด และแผลแห้ง
          ดอก  เป็นยาถ่าย ขับพยาธิ รักษางูสวัด บำบัดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
          แก่น  แก้ลม แก้ปัสสาวะพิการ แก้งูสวัด บำบัดโรคมะเรงเม็ดเลือดขาว ขับพยาธิ ขับเสมหะ แก้ลมในกระดูก ถ่ายโลหิต ถ่ายโลหิตระดู ถ่ายเสมหะ แก้กระษัย ทำให้เส้นหย่อน เป็นยาระบาย
          ไม่ระบุส่วนที่ใช้  เป็นยาระบาย ลดอุณหภูมิของร่างกาย แก้โลหิต แก้กำเดา แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้โลหิตระดูเสีย บำรุงโลหิต แก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ดับพิษโลหิต

ต้นหว้า




                                                                          ต้นหว้า


ลูกหว้า หว้า หรือ ลูกหว้า มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Jambolan plum, Java plum, Jambul และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium cumini (L.) Skeels. หรือบางที่ก็เรียกว่า หว้า หว้าป่า หว้าขาว หว้าขี้นก หว้าขี้แพะ แต่สำหรับชาวฮินดูจะเรียกลูกหว้านี้ว่า “จามาน” หรือ “จามูน” หว้าจัดเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่สำหรับในประเทศไทยเรานั้นต้นหว้าเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี และยังถือว่าต้นหว้าเป็นไม้มงคลในเรื่องของความสำเร็จและชัยชนะอีกด้วย ลูกหว้า เป็นผลไม้ที่เราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกันเท่าไหร่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าผลไม้ชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะลูกหว้านั้นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ โดยนิยมนำผลสุกมารับประทานเป็นผลไม้ (ผลสุกจะลักษณะสีม่วงและดำ มีรสออกเปรี้ยวอมหวาน และอมฝาด)และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ลูกหว้ายังมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคและอาการต่างๆอีกด้วย ด้วยการนำใบและเปลือกของต้นหว้ามาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย โดยจะมีสรรพคุณที่ค่อนข้างหลากหลายเช่น ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านโรคมะเร็ง เป็นต้น ประโยชน์ของลูกหว้า ประโยชน์ลูกหว้า ลูกหว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟัน (ผลดิบ) สรรพคุณลูกหว้า ผลดิบช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ผลดิบ) สรรพคุณของลูกหว้าผลสุกรับประทานแก้อาการท้องร่วงและอาการบิด (ผลสุก) ใช้รักษาอาการบิด มูกเลือด ท้องเสีย (ใบและเมล็ดหว้า) นำมาใช้ทำเป็นยาอม ยากวาดคอ แก้ปากเปื่อย แก้คอเปื่อย เป็นเม็ดตามลิ้นและคอ (เปลือกและใบหว้า) แก้อาการน้ำลายเหนียวข้น (เปลือกและใบหว้า) ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ใบและเมล็ดหว้านำมาต้มหรือบดให้ละเอียด แล้วนำมารับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคเบาหวานได้ เนื่องจากมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ใบและเมล็ดหว้า) ลูกหว้าสรรพคุณ ช่วยชะลอความแก่และความเสื่อมของเซลล์ได้ (ผล) ช่วยบรรเทาอาการของวัณโรค และโรคปอดได้ด้วยการนำผลหว้าไปตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดรับประทานเป็นประจำจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น (ผล) ช่วยรักษาโรคหอบหืดที่เกิดจากการแพ้อากาศ ด้วยการนำผลหว้าสดมาต้มกับน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการ (ผลสด) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมองได้ (ผล) มีส่วนช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง (น้ำมันหอมระเหย) ช่วยในการย่อยอาหาร ด้วยการเพิ่มการหลั่งน้ำดี และน้ำย่อยต่างๆ (น้ำมันหอมระเหย) ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำมันหอมระเหย) ช่วยยับยั้งเชื้ออี.โคไล (Escherichia coli) ในช่องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยๆ หรืออุจจาระเหลวเป็นน้ำ ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด (น้ำมันหอมระเหย) มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (น้ำมันหอมระเหย) ใบและเมล็ดหว้านำมาตำให้แหลกแล้วใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ (ใบและเมล็ดหว้า) ใบและเมล็ดหว้าเมื่อนำมาต้มกับน้ำตาล แล้วนำน้ำที่ได้มาล้างแผลเน่าเปื่อยได้ (ใบและเมล็ดหว้า) น้ำจากลูกหว้าถือเป็น 1 ใน 8 ของน้ำปานะที่พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาติแก่พระภิกษุ ยอดอ่อนของหว้าสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดได้ (ยอดอ่อน) ประโยชน์ของลูกหว้า ผลสุกฃานิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำเป็นเครื่องดื่มหรือไวน์ได้ (ผลสุก) เนื้อไม้ของต้นหว้า สามารถนำมาใช้ทำสิ่งปลูกสร้างบ้านเรือนได้อีกด้วย (ต้นหว้า)


 


ต้นตะแบกป่า




                                                                    ต้นตะแบกป่า

  ชื่อวิทยาศาสตร์  : Lagerstroemia floribunda Jack ex Blume
  ชื่อวงศ์  :   LYTHRACEAE
  ชื่อท้องถิ่น  :  กระแบก ตราแบกปรี้ ตะแบกไข่ บางอตะมะกอ บางอยามู เปื๋อยด้อง เปื๋อยนา เปื๋อยหางด่าง ตะแบกแดงแบก บางอยามูละเบะ ตะแบกน้ำ    
       ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด

 ประโยชน์ของต้นตะแบกป่า เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
  สรรพคุณ  :  ราก แก้ปวดกล้ามเนื้อเมื่อมีไข้  เปลือก แก้บิด แก้บิดมูกเลือด หรือลงแดง แก้ไข้อติสาร แก้ท้องร่วง แก้ถูกยาพิษ  เนื้อไม้ ขับโลหิตระดูสตรี แก้ระดูพิการที่เป็นลิ่ม เป็นก้อนสีดำมีกลิ่นเหม็นซึ่งทำให้เจ็บปวดในท้องน้อยหลังบั้นเอว แก้โลหิตจาง บำรุงโลหิต แก้ผอมแห้ง ขับระดูขาว  ใบ แก้ไข้  ขนดอก บำรุงตับ บำรุงปอด บำรุงหัวใจ แก้ลมกองละเอียด
   ลักษณะ  :  เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15 - 30 ม. ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอก สีเทาหรือเทาอมขาว เป็นมัน เปลือกใน สีชมพู มีสีม่วงใต้เปลือกใน เรือนยอด เป็นพุ่มกลม ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันมากน้อยไม่แน่นอน ทรงใบรูปขอบขนานและรูปหอก กว้าง 5 - 7 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. เนื้อใบหนา ใบอ่อน ออกสีแดง และมีขนสั้นๆอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่สีเขียวเข้มจะเกลี้ยงหรือเหลือขนเพียงประปราย ดอกออกรวมกันเป็นช่อกระจายแยกแขนง ตามปลายกิ่ง ช่อมักกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 30 ซม. ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 - 3.5 ซม. กลีบดอก 5 กลีบเป็นแผ่นกลมและมีก้านสั้น ๆ ทำให้ดูช่ออัดแน่นมาก กลีบดอกสีม่วงปนชมพูหรือสีกุหลาบ กลีบดอกแก่จะสีขาว ผลแห้ง รูปรี ๆ ยาวไม่เกิน 2 ซม. มีขนคลุมประปราย ผลอ่อน สีเขียว ผลแก่ สีน้ำตาลดำ
    ส่วนที่นำมาใช้ :  ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบ และขนดอก

  

ต้นน้ำเกลี้ยง


ต้นน้ำเกลี้ยง

ชื่อท้องถิ่น:น้ำเกลี้ยงชื่อสามัญ:รักใหม่ชื่อวิทยาศาสตร์:Gluta usitata (Wall.) Ding Houชื่อวงศ์:Anacardiaceaeลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้นลักษณะพืช:น้ำเกี้ยงเป็นไม้ยืนต้น ต้นตั้งตรง สูง 5-15 เมตร เปลือกเรียบสีน้ำตาลเทา ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน เป็นดอกช่อแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม สีแดง และมีปีกที่เกิดจากส่วนของกลีบเลี้ยง สีแดง ติดอยู่จนกระทั่งเป็นผล นำเกี้ยงมีน้ำยางที่เป็นพิษรุนแรง คนที่แพ้หรือถูกไอจากต้นน้ำเกลี้ยงจะทำให้เกิดผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อนมากปริมาณที่พบ:น้อยการขยายพันธุ์:-อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:คนอีสานเรียกน้ำเกี้ยงว่า ไม้กินคน เพราะน้ำยางที่เป็นพิษ น้ำยางของน้ำเกลี้ยงมีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมการลงรักปิดทอง ในทางสมุนไพรจะใช้เปลือกหรือใบผสมรากหางนกกี้ ใบหรือรากหวดข่า เปลือกต้นแจง แก่นฝาง และเครือเขาคำ ต้มนำดื่ม รักษาโรคน้ำเหลืองเสีย มีแผลเปื่อยทั้งตัวต้นน้ำเกลี้ยง หรือ ต้นรักแหล่งที่พบ:พฤกษาน่าสนข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้:ทุกฤดูแหล่งที่มาของข้อมูล:http://thaiforestherb.blogspot.com

ต้นยอป่า

ยอป่า


ต้นยอป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Morinda coreia Ham. จัดอยู่ในวงศ์ RUBIACEAE[1] สมุนไพรย่อป่า ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า คุย (พิษณุโลก), อุ้มลูกดูหนัง (สระบุรี), สลักป่า สลักหลวง (เหนือ), กะมูดู (มลายู), คุ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น[1],[3] หมายเหตุ : ยอป่าในบทความนี้ เป็นคนละชนิดกับ ต้นยอป่า ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morinda elliptica Ridl. หรือที่ทั่วไปเรียกว่า ยอเถื่อน
ลักษณะของยอป่า ต้นยอป่า จัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดเป็นพุ่มรี กิ่งก้านมักคดงอและหักง่าย ตามผิวกิ่งมีปุ่มปมมาก ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา เปลือกหนาแตกเป็นร่องตามยาวและแนวขนาน หรือแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมเล็กๆ ช่อดอกและใบจะออกหนาแน่นรวมกันอยู่ที่ปลายกิ่ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือวิธีการปักชำกล้า พบขึ้นได้ตามป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณทั่วไป[1],[2],[4] ใบยอป่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตัวแบบตรงข้ามสลับกับตั้งฉาก ใบมักออกรวมกันที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-17 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียวมัน ส่วนท้องใบมีสีอ่อนกว่า ใบแก่จะบางและเหนียว ผิวใบด้านบนมีขนสากขึ้นประปราย ส่วนด้านล่างมีขนนุ่ม มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบหลุดร่วงง่าย[2] ดอกยอป่า ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกรวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอมแบบอ่อนๆ กลีบดอกหนาและเป็นสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดๆ ปลายเป็นกลีบแหลม แยกเป็นกลีบ 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม เมื่อดอกบานจะแผ่กว้างออก เมื่อดอกมีขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ส่วนหลอดกลีบเลี้ยงด้านบนแบนเป็นสีเขียวอมเหลือง เชื่อมติดกับกลีบดอกข้างเคียงที่ฐาน ดอกมีเกสรเพศผู้สั้น 5 อัน ชูพ้นออกมาจากหลอดกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม[1],[2] ผลยอป่า ผลเป็นผลรวมรูปร่างค่อนข้างกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เนื้อในผลอ่อนนุ่ม ฉ่ำน้ำ และเป็นสีขาว ส่วนผลแก่เป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ดมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาล โดยมีเมล็ดแบน 1 เมล็ด ต่อหนึ่งผลย่อย โดยจะออกผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม[2] สรรพคุณของยอป่า รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)[1],[2] แก่นมีรสขมร้อน นำมาต้มหรือดองกับเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต (แก่น)[2] ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ)[2] เปลือกและเนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย (เปลือกและเนื้อไม้)[2] ใบเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)[2] ใบนำมาอังไฟ แล้วนำมาปิดที่หน้าอกและหน้าท้อง ช่วยแก้ไอ (ใบ)[1],[2] ช่วยป้องกันสันนิบาตหน้าเพลิง (แก่น)[4] ผลอ่อนมีสรรพคุณแก้คลื่นไส้อาเจียน (ผลอ่อน)[1],[2] ผลสุกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ (ผลสุก)[1],[2] ใบมีสรรพคุณแก้จุกเสียด (ใบ)[2] ส่วนแก่นมีสรรพคุณขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ (แก่น)[1],[2] ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ)[2] ผลสุก เป็นยาขับระดูของสตรี (ผลสุก)[1],[2] แก่นมีรสขมร้อน ใช้ต้มหรือดองกับเหล้าดื่มเป็นยาขับเลือด ขับและฟอกโลหิตระดู ขับน้ำคาวปลา (แก่น)[1],[2] ช่วยแก้ม้ามโต (ใบ)[1],[2] ช่วยป้องกันบาดทะยักปากมดลูก (แก่น)[1],[2] ใบสดใช้ตำพอกศีรษะเป็นยาฆ่าเหา (ใบ)[1],[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของยอป่า ใบและกิ่งยอป่า พบอิริดอยไกลโคไซด์ ได้แก่ yopaaoside A, B, C, 6-O-acetylscandoside, 10-O-acetylmonotropein, asperulosidic acid, deacetyl-asperuloside, asperuloside สารกลุ่มเซโคอิริดอยไกลโคไซด์ ได้แก่ secoxyloganin สารกลุ่มฟีโนลิกไกลโคไซด์ ได้แก่ 3,4,5-trimethoxyphenyl 1-O-
β-apiofuranosyl (1″→6)-β-glucopyranoside สารกลุ่มแอนทราควิโนนไกลโคไซด์ ได้แก่ lucidine 3-O-β primeveroside[2] ประโยชน์ของยอป่า ผลสุกใช้รับประทานได้[2] ใบอ่อนและยอดอ่อน ใช้ลวกหรือต้มให้สุกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ โดยจะมีรสขมมัน[2] ในอดีตจะเปลือกต้นและรากของต้นยอป่ามาใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีแดง ซึ่งจะต้องมีการตัดต้นและค่อนข้างหาได้ยาก จึงได้มีการนำใบของยอป่ามาใช้ย้อมสีเส้นไหม ด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน นานชั่วโมง หลังการย้อมนำเส้นไหมมาแช่ในสารละลายช่วยติดสีสารส้ม จะได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อน แต่ถ้าแช่ในจุนสีจะได้เส้นไหมสีเหลืองเขียว ส่วนการไม่ใช้สารช่วยติดสีใดๆ จะได้เส้นไหมสีเหลืองนวล และการใช้สารละลายสารช่วยติดสีสารส้มในขณะย้อม จะได้เส้นไหมสีเหลืองอ่อนเช่นเดียวกัน[2],[3],[5] ต้นยอป่าเป็นไม้มงคลของชาวอีสาน เพราะในการนำข้าวขึ้นยุ้งจะตัดกิ่งยอป่ามาค้ำยุ้งไว้ก่อนจะนำข้าวขึ้นยุ้ง ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งมีความหมายว่าให้ข้าวเพิ่มพูน[2] คนไทยโบราณจะนิยมปลูกต้นยอไว้ในบริเวณบ้าน โดยจะปลูกไว้ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าจะช่วยป้องกันจัญไรได้ อีกทั้งคำว่า ยอก็เป็นมงคลนาม ถือเป็นเคล็ดว่าจะได้รับการสรรเสริญเยินยอหรือได้รับการยกยอปอปั้นในสิ่งดีงาม[4] เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนหรือเครื่องใช้ต่างๆ ได้[4] ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน หรือปลูกเพื่อให้ร่มเงาในสวนทั่วก็ได้ เป็นไม้หอมที่ดีอีกชนิดหนึ่ง และดอกมีกลิ่นหอมอ่อน[3]


ต้นกระบก

กระบก



                                                                       ต้นกระบก

ชื่อสามัญ Barking Deer’s Mango, Wild Almond  

    ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn.
        จัดอยู่ในวงศ์ RVINGIACEAE และกระบกยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีก เช่น มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), ซะอัง (ตราด), หลักกาย (ส่วน-สุรินทร์), มื่น มะมื่น (ภาคเหนือ), บก หมากบก หมากกระบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กะบก กระบก จะบก ตระบก (ภาคกลาง), จำเมาะ (เขมร), ไม้มื่น (ขมุ), เปรียวด้องเดี๋ยง (เมี่ยน), สือมั่วลื้อ(ม้ง) เป็นต้น มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าดิบแล้ง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าหญ้า และป่าแดง และยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อนเอ็ดด้วย 
ลักษณะของกระบก ต้นกระบก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ทรงเรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร ลำต้นเปลา เปลือกต้นมีสีเทาอ่อนปนสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ในที่กลางแจ้ง และต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ใบกระบก มีใบเป็นใบเดี่ยวติดเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปรีแกมรูปขอบขนานจนถึงรูปใบหอก ใบกว้างประมาณ 2-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร เนื้อใบหนาเกลี้ยงทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ โคนใบมนแหลมหรือเว้าเล็กน้อย สอบเรียวไปทางปลายใบ ปลายใบแหลมทู่ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบประมาณ 8-14 คู่ และมักมีเส้นแขนงปลอมแซมระหว่างกลาง เส้นใบย่อยเป็นแบบขั้นบันได เห็นได้ชัดจากด้านท้องใบ เมื่อใบแห้งะเห็นเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน ปลายใบเป็นติ่งมน มีหูใบ หูใบมีลักษณะพิเศษคือ ม้วนหุ้มยอด เรียวแหลม โค้งเล็กน้อยลักษณะเป็นรูปดาบ ยาวประมาณ 3 เซนติเมตรดอกกระบก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอมเขียวอ่อน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้อยู่ 10 อัน[1] และจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ผลกระบก หรือ ลูกกระบก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรี หรือค่อนข้างเป็นรูปไข่ ลักษณะแบนเล็กน้อย คล้ายกับผลมะม่วงขนาดเล็ก โดยผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ในผลมีเมล็ดและมีเนื้อหุ้มเมล็ดเละๆ เหมือนมะม่วง ในผลกระบกมีเมล็ด เมล็ดกระบก หรือ เม็ดกระบก เมล็ดโตเป็นรูปไข่ เป็นเมล็ดเดี่ยวมีเปลือกแข็ง เนื้อในเมล็ดมีสีขาวอัดแน่นอยู่ (ลักษณะเป็นเนื้อแป้ง) และมีน้ำมัน[1] มักติดผลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนสรรพคุณกระบก น้ำมันเมล็ดกระบก สรรพคุณช่วยบำรุงสมอง (น้ำมันจากเมล็ด)[8] เนื้อไม้กระบก สรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (เนื้อไม้) ช่วยบำรุงหัวใจ (น้ำมันจากเมล็ด) ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก (น้ำมันจากเมล็ด) ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด (น้ำมันจากเมล็ด)[8] เม็ดกระบก สรรพคุณช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย (เมล็ด) ลูกกระบก สรรพคุณใช้เป็นยาระบาย ด้วยการผลกระบกอ่อนประมาณ 1 กำมือ นำมาตมผสมกับพริกเกลือ แล้วใช้รับประทานสัปดาห์ละครั้ง (หากใช้เยอะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย) (ผล) ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง (เนื้อในเมล็ด) ช่วยขับพยาธิในเด็ก (เนื้อไม้) สามารถใช้ได้ทั้งคนและสัตว์ หากเป็นคนให้ใช้ผลกระบกไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป ประมาณ 3 ลูก ใช้ตำผสมกับน้ำซาวข้าว 1 ถ้วยตาไก่ขนาดกลาง แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มกินก่อนนอนวันละครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน ส่วนถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะเช่นสุนัขที่เป็นขี้เรื้อน ก็ให้ใช้สูตรเดียวกับคน แต่ให้เพิ่มปริมาณของผลกระบกเป็นเท่าตัว ใช้กินไม่เกินสามหายขาด (ผล)[8] กระบกสรรพคุณ ทางยาช่วยบำรุงไต (เนื้อในเมล็ด)[4],[5] ใบกระบก สรรพคุณช่วยแก้อาการคันตามผิวหนัง (ใบ)[5] เนื้อในเมล็ดมีรสร้อน ช่วยบำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บำรุงไขข้อกระดูก แก้ข้อขัดได้ (เนื้อในเมล็ด)
 ประโยชน์ของกระบก ต้นกระบกมีประโยชน์ในด้านภูมิสถาปัตย์ เหมาะใช้ปลูกเป็นกลุ่มในพื้นที่โล่งๆ ตามสวนสาธารณะต่างๆ หรือสวนรุกขชาติ หรือในสวนสัตว์เปิดให้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าได้[9] ไม้กระบก กระบกเป็นไม้เนื้อแข็งและหนัก มีเสี้ยนตรงแข็งมาก ไม่แตกแยกเมื่อแห้ง เลื่อยผ่าตบแต่งได้ง่าย สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องมือกสิกรรมต่างๆ เช่น ครก สาก เครื่องสีข้าว รวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม และยังนำมาทำเป็นฟืน หรือถ่านที่ให้ความร้อนสูงได้ เป็นต้น[1],[9] ประโยชน์ของเมล็ดกระบก เนื้อในเมล็ดมีรสหวานมัน นิยมนำมาคั่วรับประทานเป็นของว่าง มีรสคล้ายกับถั่วลิสง หรือที่เรียกว่า กระบกคั่ว“[1] มีการใช้น้ำมันจากเมล็ดกระบกมารับประทาน[1] ประโยชน์เมล็ดกระบก เนื้อในเมล็ดเป็นแหล่งอุดมของแคลเซียมและเหล็กชั้นดี จึงช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้เป็นอย่างดี[6] ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก หรือรับประทานกินกับลาบ (ม้ง)[4] นอกจากจะเป็นอาหารคนแล้ว ผลสุกของกระบกที่ร่วงหล่นลงมา ยังสามารถนำไปใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ของวัว ควาย รวมไปถึงสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นๆ[7] ผลสุกของกระบก สัตว์ป่าจำพวกเก้ง กวาง และนกชอบกินเป็นอาหารมาก โดยสัตว์เหล่านี้จะช่วยพาเมล็ดไปงอกในที่ไกลๆ จึงเป็นช่วยขยายพันธุ์ต้นกระบกได้เป็นอย่างดี[9] น้ำมันจากเนื้อในเมล็ดสามารถนำมาใช้สบู่และเทียนไขได้[1],[5] ผลกระบกเป็นแหล่งเลี้ยงจุลินทรีย์ชั้นดี พืชชนิดไหนที่อยู่ใกล้ต้นกระบกก็เหมือนกับได้ปุ๋ยชั้นดีไปด้วย[8] เนื้อในไขกระบกมีความทนทานต่อการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ดี ในทางอุตสาหกรรมจึงมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มคุณค่าได้[6] เนื้อในผลกระบก นอกจากจะนำมาเคี้ยวกินเล่นแล้ว ยังสามารถนำมาใช้พัฒนาเป็นเครื่องสำอาง และยาเหน็บทวารได้อีกด้วย[6] เนื้อในเมล็ดกระบก ต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย ไขมัน 66.78%, โปรตีน 3.40%, คาร์โบไฮเดรต 9.07%, ความชื้น 2.08%, ธาตุแคลเซียม 103.30 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 61.43 มิลลิกรัม[6] น้ำมันเมล็ดกระบก ประกอบไปด้วย กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งได้แก่ กรดปาล์มมิติก 4.52%, กรดลอริก 40.11%, ไมริสติก 50.12%, และกรดสเตียริก 0.55% ส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัว ได้แก่ กรดไลโนเลอิก 1.46%, กรดโอเลอิก 3.12% และกรดปาล์มมิโตเลอิก 0.12%[3] แหล่งอ้างอิง สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [8 ต.ค. 2013]. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3, ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [8 ต.ค. 2013].